อาชีพด้านการแพทย์ในไทย

การเปิดเสรีภาคบริการในอาเซียน และนโยบายการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ส่งผลให้ไทยนั้นได้รับทั้งโอกาสในทางการแพทย์ และความท้าทายในสิ่งที่วงการแพทย์ของไทยต้องเจอ โดนเฉพาะเรื่องของบุคลากรทางการแพทย์ ที่ต้องเตรียมจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ให้เพียงพอต่อการเปิดตลาด และทักษะ ความรู้ที่เป็นสากล

ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ อันดับต้นๆของเอเชีย มีผู้ป่วยทั้งไทย และต่างชาติเข้ามาใช้บริการ ไม่ต่ำกว่า 1ล้านคน สร้างรายได้ และชื่อเสียงให้ไทยมาก แต่การให้บริการของทางศูนย์สุขภาพ หรือโรงพยาบาลนั้นไม่รวดเร็วพอต่อจำนวนผู้มาใช้บริการ เนื่องจากจำนวนแพทย์  พยาบาลนั้นมีไม่มาก และการกระจายแพทย์ พยาบาลไปศูนย์สุขภาพ หรือโรงพยาบาล ไม่มีความเหมาะสม แล้วการผลิตแพทย์ พยาบาลทั้งหมด อยู่ในความดูแลของภาครัฐ ซึ่งงบที่ใช้ในการดูแลมาจากภาษีของแผ่นดิน ทำให้จำนวนแพทย์ พยาบาล ที่จบออกมาทำงานนั้นขึ้นอยู่กับงบจากภาษีของแผ่นดิน แล้วจำนวนแพทย์ พยาบาล ที่ทำงานให้กับภาครัฐก็มีจำนวนน้อยกว่าภาคเอกชน เนื่องจากเงินเดือนของโรงพยาบาลภาคเอกชน นั้นมีอัตราค่าตอบแทนที่เยอะกว่าของภาครัฐ  แต่อย่างไรก็ดี การเปิดเสรีในการย้ายถิ่นฐานให้บริการวิชาชีพ ระหว่างไทยและอาเซียน ยังมีขอบเขต และข้อจำกัดอีกมาก และการไปทำงานต่างประเทศในอาเซียน ยังไม่เป็นที่นิยมของแพทย์ พยาบาลไทย โดยเหตูผลหลักคือไม่ต้องการแยกจากครอบครัว เป็นต้น[1]

การเตรียมความพร้อมที่เหมาะสมกับการเปิดเสรีการค้าอาเซียน และการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ  ต้องเตรียมทักษะพื้นฐานให้พร้อม นั้นคือภาษา ,การสื่อสาร ,กฎหมาย ,พฤติกรรมการให้บริการแก่ผู้ป่วย และจรรยาบรรณในวิชาชีพ นอกจากเป็นหน้าเป็นตาให้กับไทยแล้ว ยังช่วยให้การบริการผู้ป่วยทั้งคนไทย และต่างชาติง่ายขึ้น  การเตรียมความรู้ กลุ่มที่ดูแลในเรื่องของหลักสูตรการศึกษาให้กับนักศึกษาแพทย์ พยาบาลไทย ได้ปรับหลักสูตรตามมาตรฐานสากล และการเป็น Thailand Nursing Education Hub[2]

การเตรียมความพร้อมในการเปิดเสรีการค้าอาเซียน และการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ วงการทางด้านการแพทย์ต้องเตรียมจำนวนแพทย์ให้เพียงพอต่อภายในประเทศ และต้องให้แพทย์ พยาบาล นั้นมีทักษะพื้นฐานให้พร้อมต่อการให้บริการแก่ผู้ป่วย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ใหม่ให้กับนักศึกษาแพทย์ พยาบาลไทยให้มีความพร้อมต่อตลาดอาเซียน

[1] กรุงเทพธุรกิจ

 

www.jobnurse.co

[2]Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ

[2] 

Uncategorized